Chemistry

Chemistry

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อะตอมคืออะไร?

_________________________________________________________________________________

     ย้อนในอดีตประมาณ400ปีก่อนคริสตกาล ผู้กล่าวถึงอะตอมคนแรกคือ Democretus (คีโมครีตุส) ได้กล่าวไว้ว่า อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กที่สุด มีรูปร่างแตกต่างกันและไม่สามารถแบ่งแยกออกได้

John Dolton

แบบจำลองของจอหน ดอลตัน
     จอหน ดอลตัน เป็นนักวิทยาศาสตรชาวอังกฤษได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอะตอมและตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นเรียกว่า ทฤษฎีอะตอมของดาลตัน ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น ทฤษฎีอะตอมของดาลตันมีใจความสำคัญดังนี้
1. สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่าอะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกและทำให้สูญหายได้   
2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกันและจะมีสมบัติต่างจากอะตอมธาตุอื่น
     3. สารประกอบเกิดจากอะตอมมากกว่า1ชนิด ทำปฏิกิริยาในอัตราส่วนน้อยๆ ตัวอย่างเช่น H20 CO2

ข้อจำกัดที่ไม่สามารถอธิบายได้คือ อะตอมยังสามารถแบ่งแยกได้อีก แบ่งเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน) และอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีมวลต่างกันได้

Josephn Jonh Thomson
 
แบบจำลองของทอมสัน
     โจเซฟ จอห์น ทอมสัน เป็นนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษได้สนใจปรากฏการณที่เกิดขึ้นในหลอดรังสีแคโทดจึงทำการทดลองเดี่ยวกับการนำไฟฟ้าของแก๊ส
หลอดรังสีแคโทดของ WilliamCrookes

     วิลเลียมครูกส์ ได้สร้างหลอดรังสีแคโทดขึ้นมาเพื่อทดลองการนำไฟฟ้าของก๊าซซึ่งเขาสรุปผลการทดลองได้ว่า ก๊าซจะนำไฟฟ้าได้ดี เมื่อก๊าซนั้นมีความกดดันต่ำๆ และความต่างศักย์ไฟฟ้ามีค่าสูงๆเนื่องจาก เกิดรังสีพุ่งออกมาจากแคโทดไปยังแอโนด เรียกรังสีนี้ว่า รังสีแคโทด และเรียกหลอกแก้วชนิดนี้ว่า หลอดรังสีแคโทด


หลอดรังสีแคโทดของ Tomson


     ทอมสันได้ทำการทดลองโดยการ บรรจุแก๊สชนิดหนึ่งไว้ในหลอดแก้วที่ต่อไว้กับเครื่องสูบอากาศ โดยเจาะตรงกลางที่แอโนด และต่อกับเครื่องกำดนิดไฟฟ้ากรแสตรงความต่างศักย์สูง ทางปลายหลอดมีฉากเรืองแสงรองรับอยู่ พบว่าเมื่อลดความดันในหลอดแก้วให้ต่ำลงจนเกือบเป็นสุญญากาศ จะมีจุดสว่างเกิดขึ้นตรงบริเวณศูนย์กลางของฉากเรืองแสง


     หลังจากนั้นต่อมาทอมสันได้ทำการเพิ่มขั้วไฟฟ้าอีก2ขั้วในแนวดิ่ง พบว่า ตำแหน่งของจุดสว่างบนฉากเรืองแสงได้เบนเข้าหาขั้วบวกของสนามไฟฟ้า จึงสรุปได้ว่ารังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ
     เมื่อทอมสันทดลองเปลี่ยนชนิดของแก๊สที่บรรจุในหลอดและโลหะที่ใช้เป็นแคโทด พบว่ารังสีที่เกิดขึ้นยังคงประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุลบพุ่งมากที่ฉากเรืองแสงเหมือนเดิม เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนของประจุต่อมวล (e/m) ของอนุภาคพบว่าได้ค่าเท่ากับ  1.76x10^8 คูลอมบ์ต่อกรัมทุกครั้ง จากผลการทดลองและการคำนวณช่วยให้ทอมสันสรุปได้ว่าอะตอมทุกชนิดมีอนุภาคที่มีประจุลบเป็นองค์ประกอบ และเรียกอนุภาคนี้ว่า อิเล็กตรอน



  ______________________________________________________________________________

Robert Andrews Millikan

     มิลลิแกน ได้ทำการทดลองเพื่อหาค่าประจุของอิเล็กตรอนโดยวิธีหยดน้ำมัน ทำได้โดย พ่นน้ำมันเป็นละอองเม็ดเล็ก ๆ ให้ตกลงมาระหว่างแผ่นโลหะ 2 แผ่น แล้วใช้รังสีเอกซ์ไปดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมของแก๊สในอากาศ แล้วให้อิเล็กตรอนไปเกาะหยดน้ำมัน พบว่า แต่ละหยดน้ำมันมีอิเล็กตรอนมาเกาะจำนวนไม่เท่ากัน นั่นคือ หยดน้ำมันบางหยดมีอิเล็กตรอนเกาะติดเพียงตัวเดียว บางหยดก็มีมากกว่า 1 ตัว หยดน้ำมันจะตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก จากนั้นให้กระแสไฟฟ้าเข้าไปในแผ่นประจุบวกและลบ แผ่นประจุลบซึ่งอยู่ด้านล่างผลักหยดน้ำมันที่มีอิเล็กตรอนมาเกาะจนหยุดนิ่ง ซึ่งดูได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์(microscope) แสดงว่า แรงโน้มถ่วงของโลกเท่ากับแรงจากสนามไฟฟ้า แล้วคำนวณหาค่าประจุ
     มิลลิแกนสรุปว่าค่าประจุไฟฟ้าต่ำสุดที่เกิดขึ้นบนละอองน้ำมันคือประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน  เกิดจากละอองน้ำมันดังกล่าวมีอิเล็กตรอนไปเกาะอยู่  1  ตัว  ถ้าละอองน้ำมันใดมีอิเล็กตรอนไปเกาะ    อยู่  2  3  4 ...  ตัว  ประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนละอองน้ำมันนั้นก็จะเพิ่มเป็น  2  3  4 ... เท่าของ -1.6 x 10-19  คูลอมบ์   ฉะนั้นประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอนจึงมีค่าเท่ากับ  - 1.6 x 10-19  คูลอมบ์




            เมื่อทราบประจุของอิเล็กตรอนแล้ว  จึงแทนค่าประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน  (e)  ไปลงในสมการของทอมสัน  จะคำนวณหามวล (m) ของอิเล็กตรอนได้ 
      จากผลการทดลองมิลลิแกนคำนวณหาค่าประจุของอิเล็กตรอนได้คือ 1.60 X 10-19 คูลอมบ์ ซึ่งเป็นค่าประจุของอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน


    จากการทดลองของมิลลิแกน เราทราบค่า             e = 1.60 X 10-19 คูลอมบ์
   จากการทดลองของทอมสัน เราทราบค่า           e/m = 1.76 X 108 คูลอมบ์/กรัม
                                                           แทนค่า 1.60 X 10-19/m = 1.76 X 108
                                                                 m = 9.11 X 10-28 กรัม
          ดังนั้น เราจะทราบมวลของอิเล็กตรอนเท่ากับ  9.11 X 10-28 กรัม



______________________________________________________________________________

Eugen Goldstein


     ออยแกน  โกลด์สไตน์   นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน   ได้แสดงให้เห็นว่า  ถ้ามีการดัดแปลงหลอดรังสีแคโดโดยให้ขั้วแคโทด อยู่เกือบ ตรงกลางและเจาะรูขั้วแคโทด   จะสังเกตเห็นรังสีหลังขั้วแคโทด รังสีนี้เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง   เมื่อศึกษาสมบัติตรงข้ามกับรังสีแคโทด    คือเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กในทิศทางตรงข้ามกับรังสีแคโทด   ในสนามไฟฟ้ารังสีนี้เบี่ยงเบนเข้าหาขั้วลบ    และทำให้ฉากเรืองแสงได้   ทำให้สรุปได้ว่ารังสีที่พบใหม่นี้ประกอบด้วยอนุภาค ที่มีประจุไฟฟ้าบวก  เรียกว่า  รังสีบวก   หรือรังสีแคแนล  อนุภาคบวกนี้เกิดจากอะตอมของก๊าซถูกชนด้วยอนุภาคอิเล็กตรอน   ที่พุ่งออกมาจากแคโทด  ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม   อะตอมจะกลายเป็นประจุบวก    อนุภาคนี้จึงเคลื่อนที่เข้าหาขั้วลบ   และพบว่าเมื่อเปลี่ยนชนิดของก๊าซที่บรรจุ  อนุภาคนี้จะมีค่าประจุต่อมวลไม่คงที่ขึ้นอยู่กับก๊าซที่บรรจุ    จากการทดลองพบว่าถ้าใช้ก๊าซไฮโดรเจน   จะอนุภาคบวกที่มีขนาดประจุเท่ากับอิเล็กตรอนและมีค่าประจุต่อมวลสูงสุด   เรียกอนุภาคนี้ว่า  โปรตอน



ผลการทดลองของโกสไตน์
เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้า ปรากฏว่ามีจุดสว่างเกิดขึ้นทั้งฉากเรืองแสง ก. และฉากเรืองแสง ข. โกลสไตน์ได้อธิบายว่า  จุดเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนฉากเรืองแสง ก. จะต้องเกิดจากที่ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก เคลื่อนที่ผ่านรูตรงกลางของแคโทด ไปยังฉากเรืองแสง  แต่ยังไม่ทราบว่ารังสีที่มีประจุไฟฟ้าบวกนี้เกิดจากอะตอมของก๊าซ หรือเกิดจากอะตอมของขั้วไฟฟ้า และมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่ โกลสไตน์ได้ทดลองเปลี่ยนชนิดของก๊าซในหลอดแก้วปรากฏว่าอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกเหล่านี้มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่ใช้และเมื่อทดลองเปลี่ยนโลหะที่ใช้ทำเป็นขั้วไฟฟ้าหลายๆชนิดแต่ให้ก๊าซในหลอดแก้วชนิดเดียวกัน ปรากฏว่า ผลการทดลองได้อัตราส่วนประจุต่อมวลเท่ากันแสดงว่าอนุภาคบวกในหลอดรังสีแคโทดเกิดจากแก๊ส ไม่ได้เกิดจากขั้วไฟฟ้า
จากผลการทดลอง ทั้งของทอมสันและโกลด์สไตน์ ทำให้ทอมสันได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้น จึงได้เสนอแบบจำลองอะตอม ดังนี้
       อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกและอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ กระจัดกระจายอย่างสม่ำเสมอในอะตอมอะตอมที่มีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับจำนวนประจุลบ



______________________________________________________________________________


Ernest Rutherford

    ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด  (Lord Ernest Rutherford)  ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน  และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริงหรือไม่  โดยตั้งสมมติฐานว่า ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง  ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม  แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม
รัทเทอร์ฟอร์ดจึงได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟา (รังสีบวก) ไปยังทองคำ และใช้ฉากเรืองแสง ZnS โค้งรอบแผ่นทองคำ พบว่า ส่วนใหญ่ทะลุผ้านเป็นเส้นตรง ส่วนน้อยเบี่ยงเบน และส่วนน้อยมากสะท้อนกลับ



จากผลการทดลองสรุปได้ว่า
      1.การมี่อนุภาคแอลฟาวิ่งผ่านแผ่นทองคำได้เป็นส่วนใหญ่เพราะว่าภายในอะตอมมีที่ว่างอยู่มาก
      2. การที่อนุภาคแอลฟาเบี่ยงเบนเพราะวาภายในน่าจะมีอนุภาคบวกที่มีมวลสูงมากกว่าอนุภาคแอลฟาและมีประจุบวกจึงถูกผลักให้เบนออก
      3. การที่อนุภาคสะท้อนกลับมาบริเวณข้างหน้าดพราะว่าอนุภาคแอลฟาวิ่งชนกับอนุภาคบวกจึงทำให้เกิดการสะท้อนกลับ
จากการทดลอง รัทเทอร์ฟอร์ดจึงได้เสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ว่า อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากอยู่ภายในและมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก โดยมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆ





______________________________________________________________________________


Sir James Chadwick


     หลังจากการค้นพบโปรตอนและอิเล็กตรอนและนิวเคลียสแล้วยังพบว่าประมาณครั้งหนึ่งของมวลนิวเคลียสเป็นโปรตอนเนื่องจากอิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก ดังนั้นภายในนิวเคลียสจะต้องมีอนุภาคอื่นอีกที่มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลเกือบเท่ากับมวลของโปรตอน ในปี ค.ศ. 1932 แชดวิก (J. Chadwick) ได้ท้าการทดลองยิง (bombard) ธาตุเบริลเลียม (Beryllium, Be) ด้วยอนุภาคแอลฟาพบว่า มีอนุภาคที่มีพลังงานสูงแต่ไม่มีประจุถูกปลดปล่อยออกมาเรียกอนุภาคนี้ว่านิวตรอน (neutron)


     จากการค้นพบอิเล็กตรอน โปรตอนและนิวตรอน จึงได้ข้อสรุปว่าอะตอมประกอบด้วย อนุภาคมูลฐาน 3 อย่าง คือ อิเล็กตรอน (e) โปรตอน (p) และนิวตรอน (n) สมบัติดังตารางที่ 1.1 โดยบริเวณใจกลางเป็นนิวเคลียสที่มีความหนาแน่นสูง เนื่องจากภายในมีโปรตอนและนิวตรอนมีมวลเกือบเท่ามวลของอะตอม ส่วนรอบๆ นิวเคลียส จะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่รอบๆ โดยนิวเคลียสมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 10-13 เซนติเมตร ขณะที่อะตอมมีเส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาด 10-8 เซนติเมตร



คำถามท้ายบท

1.) ข้อใดไม่ใช่แบบจำลองของดอลตัน?
ก. อะตอมมีขนาดเล็กไม่สามารถแยกได้แบ่ง
ข. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกัน
ค. ในอะตอมมีอิเล็กตรอน
ง. ธาตุจะทำปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วนน้อยๆ

2.) การทดลองโดยใช้หลอดรังสีแคโทดทำให้เราทราบเกี่ยวกับอะไร?
ก. อนุภาคแอลฟามีประจุบวกและหนักกว่าโปรตอน
ข. อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกมีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่เท่ากัน
ค. ในนิวเคลียสมีโปรตอน
ง. สสารทุกขนิดประกอบด้วยอิเล็กตรอน

3.) การทดลองของมิลลิแกนเป็นการทดลองเพื่อหา?
ก. ประจุบนหยดน้ำมัน
ข. e/m ของอิเล็กตรอน
ค. ประจุของอิเล็กตรอน
ง. มวลของโปรตอน

4.) จากการทดลองของโกลด์สไตน์ทำให้เราค้นพบ ?
ก. มวลของนิวตรอน
ข. e/m ของอิเล็กตรอน
ค. e/m ของโปรตอน
ง. มวลของโปรตอน

5.) เพราะเหตุใดการคิดมวลของธาตุจึงไม่คิดมวลของอิเล็กตรอน?
ก. อิเล็กตรอนมีค่าเป็นกลาง
ข. มวลของอิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับมวลของโปรตอน
ค. มวลของอิเล็กตรอนเบามาก
ง. ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดหาข้อสรุปได้

6.) แบบจำลองอะตอมของทอมสันและรัทเทอร์ฟอร์ดแตกต่างกันอย่างไร?
ก. ตำแหน่งของอนุภาคในโปรตอน
ข. ขนาดของอนุภาคในอะตอม
ค. จำนวนอนุภาคในอะตอม
ง. ชนิดของอนุภาคในอะตอม

7.) ประจุของนิวตรอนมีค่าเป็นอย่างไร?
ก. มีค่าเป็นบวก
ข. มีค่าเป็นกลาง
ค. มีค่าเป็นลบ
ง. มีค่าเป็นลบและเป็นกลาง

8.) ข้อใดเป็นแบบจำลองของทอมสัน?
ก. มีลักษณะเป็นทรงกลมข้างในว่างเปล่า
ข. มีบวกและลบกระจายกันอยู่เท่าๆกัน
ค. มีอิเล็กตรอนอยู่รอบๆและมีนิวเคลียสตรงกลาง
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

9.) แบบจำลองอะตอมของทอมสันและรัทเทอร์ฟอร์ดแตกต่างกันอย่างไร?
ก. รังสีบวกดกิดจากแก๊สที่บรรจุภายใน
ข. รังสีบวกไม่มีประจุไม่มีมวล
ค. รังสีบวกมีมวลเท่ากันเสมอ
ง. รังสีบวกมีประจุคงที่

10.) เมื่อเราตั้งสมมุติฐานว่าอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียส ซึ่งมีขนาดเล็กและมีประจุบวกนั้น เพราะ?
ก.โดยทั่วไปโลหะนำไฟฟ้าได้ดี
ข.ในการทำอิเล๋กโทรลืซิลของเกลือทั้งไฮโดรเจนจะไปรับอิเล็กตรอนที่แคโทด
ค.ในแมสสเปกโทรมิเตอร์จะมีไอออนบวกเกิดขึ้น
ง.อนุภาคแอลฟาบสงส่วนเมื่อชนกับแผ่นโลหะบางๆ จะเบนไปขากแนวเส้นตรงหรือสะท้อนกลับ
          --------------------------------------------------------------------------------------------

เฉลย

1.) ค
2.) ง
3.) ก
4.) ง
5.) ค
6.) ก
7.) ข
8.) ก
9.) ก
10.) ง